ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

เขาว่าที่นี่มีปีศาจ @ Xitou Monster village;Taiwan

A Day in Xitou Monster village!

การท่องเที่ยวในไต้หวันก็ไม่ได้ยากแล้วก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลยเอาไว้เลยนะคะ
เอ๊ะยังไง! ย้อนแย้งนะเธอออออออ 5555555
จริงๆนะคะ (เสียงสูงและลากยาว)
ที่ ว่าไม่ยาก เพราะว่า มีหลายๆคนไปเที่ยวแล้วก็มาแบ่งปันข้อมูลต่างๆมากมายในโลกโซเชียล (ทำการบ้านก่อนไปด้วยปลายนิ้ว อิอิอิ) ระบบขนส่งที่นั่นดีกว่าบ้านเราพอสมควร เคยใช้บริการระบบขนส่งของไต้หวันมาแล้วทุกรูปแบบค่ะ ทั้งรถไฟเร็ว (เร็วและแพง ขึ้นแบบงงๆหลงๆโง่ๆ55) รถไฟธรรมดา (ถูก สะดวก สะอาด ตรงเวลา นั่งสบาย คุ้มราคามากๆๆๆๆๆ) รถโดยสาร รถเมย์ รถแทกซี่ รถเหมา รถเช่า หรือแม้แต่ขับรถมอเตอร์ไซค์ข้ามอำเภอท่ามกลางลมหนาวก็ทำมาแล้ว (ขับเองโดยมีคุณแม่อายุ 60กว่าๆ ซ้อนท้าย สนุกมาก จนคุณแม่ออกปากเลยว่า ต่อไปนี้ถ้าไปเที่ยวต่างประเทศอีก ไม่ต้องซื้อทัวร์แล้วนะ แม่ชอบแบบนี้ ........ เอิ่มมมมม นี่แม่ไม่ได้เมาลมหนาวและบ่าวไต้หวันใช่มั้ยคะ ที่พูดมาเนี่ย .... ลูกเพลียจริงๆ555) ค่าเงินก็ไม่ได้ต่างจากเรามากนัก (แต่รวมๆแล้วก็ค่อนข้างสูงนะ....ก็แหม แต่ละที่ที่ไป สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตทั้งนั้น...)



แต่สรุปได้ว่า คุ้มค่า ในราคานักท่องเที่ยว.....นี่พูดเลย!555
ส่วนที่ว่ายาก ก็คือ ป้ายหลายๆป้ายเป็นภาษาจีนนนนนนน โอ้วววววววววววว อ่านไม่ออกจ้าาาา และที่สำคัญเรื่องของการสื่อสารค่ะ
อีฉัน เป็นคนไทยที่ใช้ D-cash ย้อมสีผมให้ทองๆแดงๆแบบฝรั่ง พูดภาษาอังกฤษสำเนียงแปลกหูได้เป็นอย่างดี ส่วนคนทางนี้ก็มีทักษะการพูดอังกฤษสำเนียงจีนที่ดีเลิศ ทำให้ต้องใช้แววตา สีหน้า ภาษามือ และกดมือถือรัวๆเพื่อสัมพันธภาพอันดีน้องพี่ไทย ไต้หวัน 5555

เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง
จุดที่ผ่านมาเป็นสิบๆบรรทัด แต่ยังไม่เข้าเรื่อง 55555

ป่ะ ไปเที่ยว ซีโถว กันดีกว่าค่ะ (Xitou Monster village)

รอบนี้ทริปยาวมากๆๆๆๆไปหลายที่ เลยตัดสินใจเช่ารถ Yaris มาขับค่ะ คนขับรถก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
คุณสามีคร่าาาาาา
มาดูกันดีกว่าค่ะ

 เนื่องจากต้องขับรถขึ้นภูเขา อากาศก็จะบางเบาลงไปนิดๆ ชื้นหน่อยๆหมอกหนาเป็นพักๆ และที่แน่ๆเย็นมากๆคร่าาาา
ระหว่างทางก็ชื่นชมไร่ชาที่สูงชัน สวยงามแปลกตา (ชาที่นี่ค่อนข้างมีชื่อเสียงนะคะ) 


ก็เพราะว่าสูงชันมากๆนี่แหละค่ะ เขาก็เลยมีรถรางแบบนี้ ใช้ขนส่งสิ่งของขึ้นลงภูเขา ...... เห็นแล้วอยากลองไปนั่งแล้วไสลด์ลงมาจังเลยเนอะ 555 หมดสิทธิ์คะ เขาใส่ขนของเท่านั้น สิ่งมีชีวิตที่สวยงามอย่างดิฉัน .. อดขะ! 555

ระหว่างนั้นก็เห็นอะไรแปลกๆบอกคนขับรถ 5555 (คุณสามี) ว่า ช้าๆๆๆลงหน่อย เห็นอะไรแว้บๆที่ไหล่ทาง555
โอ้ววววว เมื่อลดความเร็วลง ชัดเลยค่ะ ............
ไหล่ทางกว้างแค่ศอก .......
ชาวบ้านปลูกกะหล่ำปลีเอาไว้ 55555 เป็นแถวเรียงรายสวยเชียว
(รถก็อยู่ส่วนรถนะคะ อย่าได้คิดนอกลู่นอกทางเชียว)
 เสียดายหารูปไม่เจอ รอบหน้านะคะ (ถ้าเจอนะ)

 แทแดนนนนนนนน.............ถึงแล้วจ้า Xitou Monster village
อีฉันมาพร้อมๆกับม่านหมอกคร่าาาาาาา สวยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
.
.
.
อ้าวววว..........ง่วงนอนซะแล้ว
55555 พรุ่งนี้มาต่อนะคะ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้



การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้
1.       ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.       เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้
3.       ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการความรู้
           4.       การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้
           5.       ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้



การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นวิธีการหรือกระบวนการที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อ บุคคลและองค์กร โดยสามารถใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้การจัดการความรู้เกิดได้ง่าย และสะดวกขึ้น อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (วิจารณ์ พานิช, 2548) ด้วยเหตุนี้แนวคิดเรื่องการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงถูกนำมาใช้ในหน่วยงานราชการแทบทุกแห่งเพื่อให้สามารถพัฒนา แข่งขันและดำรงองค์กรให้อยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน (สำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต, 2546) ซึ่งปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการจัดการความรู้ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ที่สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรก็จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่างสมดุลเพื่อเพิ่มความสามารถ
ในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที
(Information and communication Technology; ICT)
เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ*  ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลัก คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม



เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้
1.เทคโนโลยีการสื่อสาร (communication technology)
ช่วยให้บุคลากร สามารถเข้าถึง ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นรวมทั้ง สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ค้นหาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทาง เครือข่ายอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต
2.เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (collaboration technology)
ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพลด อุปสรรคในเรื่องของระยะทางตัวอย่างเช่น โปรแกรมกลุ่ม groupware ต่าง ๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น
3.เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (storage technology)
ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่ นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้น  ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถจัดการและจัดเก็บ ความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
4. สังคมเครือข่าย (social networking)
ปัจจุบันเครื่องมือด้านเทคโนโลยีได้มีการพัฒนา ย่างรวดเร็วและมีการปรับ เปลี่ยนพัฒนาตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคปัจจุบัน ระบบสังคมเครือข่ายบนโลกออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง เนื่องจากเป็นการพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตที่ตอบสนองตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค

บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.    การศึกษา   
นำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหาร ด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่ม ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล  ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด  มีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2.      การดำรงชีวิตประจำวัน  
ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3.      การดำเนินธุรกิจ  
ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น  ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลาอันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ งานศึกษา ค้นคว้าข้อมูลรักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร
5.ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร
6. ด้านการเงินธนาคาร
          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและการธนาคาร โดยใช้ช่วยด้านการบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ และเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
7. ด้านความมั่นคง
          เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบจัดทำทะเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ
8. ด้านการคมนาคม
          มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง 
9. ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
          มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ   หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง
10. ด้านการพาณิชย์
          องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหาร จัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กรหรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร 
11. ด้านอุตสาหกรรม
ช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงานสารเคมี โรงผลิตและการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ 
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้
1.    ช่วยในการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ
2.    เพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้นและพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.    ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้น หากมีการนำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้  โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
4.    ช่วยให้ความรู้ที่มีอยู่แพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่าง สมดุลเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร/ชุมชน/หน่วยงาน
5.    ช่วยปรับปรุงโครงสร้างภายในองค์กร เพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น ลดการแบ่งแยกตามระบบงาน  ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ซึ่งกันและกัน
6.    เป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
จะเห็นได้ว่าไอซีทีมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วย กันทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge Transfer) ทำได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งไอซีทียังช่วยให้การนำเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่น ตัวอักษร รูปภาพ แอนิเมชั่น เสียง วิดีโอ ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ไอซีทียังช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge storage and maintenance) อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย จึงนับได้ว่า ICT เป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้
ความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการจัดการความรู้ในองค์กร
1.    เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน การเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดการความรู้ในองค์กร จะช่วยลดอุปสรรคในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ส่งเสริมให้การทำงานในองค์กรเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว อีกทั้งจะช่วยให้เกิดการแพร่กระจายและส่งถ่ายข้อมูลทั้งที่เป็นแบบที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) และ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ได้ทั่วทั้งองค์การอย่าง
2.    เนื่องจากระบบสารสนเทศเดิม(ที่ไม่ใช้ ICT) ไม่สามารถให้ข้อมูล หรือทำงานได้ตามต้องการในเรื่องของการจัดการความรู้ เนื่องจากระบบเดิมเป็นการจัดการข้อมูล (Information management) แทนที่จะเป็นการจัดการความรู้ (Knowledge management)
3.    การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้สามารถนำ ICT มาใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือสนับสนุนการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี
4.    เพื่อปรับองค์กรและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
 เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การแสวงหาความรู้ การกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ แต่ทั้งนี้แล้วองค์กรก็จะต้องเลือกที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับระบบการจัดการความรู้อย่างเหมาะสม เนื่องจากการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีจะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง หากองค์กรพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้อง หรือยากต่อการใช้งาน ยากต่อความเข้าใจของคนในองค์กรที่มีความหลากหลาย นอกจากจะสูญเสียเงินลงทุนแล้ว อาจทำให้โครงการในการสร้าง ระบบการจัดการความรู้ขององค์กรไม่ประสบผลสำเร็จด้วยเช่นกัน




การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้
ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องและประหยัดเวลา
การประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน
- งานจัดเก็บเอกสาร การเผยแพร่เอกสาร เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างแผนกหรือระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่อยู่ห่างไกล
         - งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ อาจกระทำได้โดยการ
เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงาน ณ จุดนี้ได้โดยอัตโนมัติได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น
         - งานจัดเก็บและค้นเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ผ่าน
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น
        - งานจัดเตรียม จัดเก็บสารสนเทศในลักษณะภาพทั้งภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวและเสียง
การประยุกต์ใช้กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษานั้น มีแนวทางในการใช้มากมายขึ้นแต่ที่
ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ประเภท คือ
            - การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอา
คำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีวิธีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาการถึงระดับใช้สื่อประสม และใช้เทคนิคต่างๆเพื่อให้การสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
            - การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ
ตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH) หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล(Video Teleconference) โดยใช้ผู้สอน และผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันทีเพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
            - เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียน
นักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งส่วนมากเป็นเครื่อข่ายที่ประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้สารสนเทศแต่อย่างใด
             - การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้
นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
   - การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษาการเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดีรวมทั้ง ครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น

ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมเพื่อการจัดการความรู้
เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์
เพื่อการจัดการความรู้ มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล ส่วนในระดับถัดมา เป็น
เครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki  Blog เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการการปฏิสัมพันธ์ ต่างจากเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร ตรงที่เครื่องมือเพื่อการ
ปฏิสัมพันธ์นี้มุ่งเน้นเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้โดยอาศัยกลไกของการพูดคุยสนทนากัน
   
             Blog
            Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่
ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น การเขียนเรื่องราวของตนเอง การเขียนวิจารณ์เรื่องราวหรือหัวข้อหรือสิ่งที่ตนเองสนใจต่างๆ การเขียนวิจารณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมา เป็นต้น
Blog ประกอบด้วย ข้อความ, hypertext, รูปภาพ และ ลิงค์ (ไปยังเว็บ, วีดีโอ, ข้อมูลเสียงและอื่นๆ) blog จะอยู่ในรูปบทสนทนาระหว่างเอกสาร โดยผู้ที่ใช้ blog สามารถเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ ซึ่ง blog มีทั้งเป็น blog เฉพาะบางกลุ่ม หรือเป็น blog ทั่วๆ ไปก็ได้
การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging”
บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries”
บุคคลที่ โพสลงใน “entries” เหล่านี้เรียกว่า “blogger”
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ Blog สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง ความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังมีการ comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันได้อีกด้วย บางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ เพราะบางครั้ง ข้อมูลจาก Blog เป็นข้อมูลที่ไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อนอีกด้วย
นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ, สิ่งพิมพ์,โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริง Blog จะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากเว็บเพจมาตรฐานทั่วไป blog จะมีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้สร้างหน้าเว็บใหม่ได้ง่าย เช่น  การใส่ข้อมูลใหม่ (โดยมีหัวข้อ, ประเภท, และเนื้อความ) ทำได้ง่าย มี template อัตโนมัติที่จะจัดการ  การเพิ่มบทความตามวันที่และหัวข้อเป็น archive มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภทผู้แต่งหรืออื่นๆ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ เพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปโดยง่าย ดังนั้น blogging จึงเป็นช่องทางเผยแพร่งานพิมพ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
Wiki

Wiki อ่านออกเสียง “wicky” “weekee” หรือ “veekee” เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เรา
สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม(Encyclopedia) สาธารนะที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย สำหรับภาษาไทยสามารถเข้าอ่านได้ http://th.wikipedia.com

ปัญหาในการใช้ IT ในการจัดการความรู้

                ตัวความรู้เองเป็นนามธรรมไม่สามารถจับต้อง การจัดการความรู้จึงต้องไป
ทำ กับกระบวนการจัดการความรู้ เช่น ไปจัดการที่กระบวนการจัดเก็บ การค้นหา การดูแล เป็นต้น กระบวนการจัดการความรู้เหล่านี้เองที่เป็นส่วนที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้า มามีบทบาทอย่างมากในการ ช่วยทำให้การจัดการกระบวนการเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้คนเข้ามาทำ และ
 (สมชาย นำประเสริฐชัย และ พสิษฐิ์ กาญจนสัณห์เพชร, มปท) การจัดการความรู้ด้วยมุมมองเช่นนี้ทำให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินการจัดการความรู้หลายประการ ได้แก่
1.    หลายหน่วยงานมองระบบการจัดการความรู้เป็นเพียงการใส่ข้อมูลและจัดหมวดหมู่โดยคาดหวังเทคโนโลยีของซอฟแวร์จะแก้ไขปัญหาในส่วนอื่นให้ได้ ทำให้หลายองค์กรเข้าใจผิดว่าระบบการ จัดการความรู้ ก็คือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.    ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศบางระบบ มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งนอกจากจากระบบปฏิบัติการแล้ว ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบ อีกด้วย
3.    ความรู้หรือข้อมูลที่มีการใช้งานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่เป็นความรู้แบบ Explicit Knowledge เนื่องจากง่ายในการจัดการ
4.    ประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นความรู้ที่สะสมอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ซึ่ง มีคุณค่าและประโยชน์ต่อองค์กรมาก ต้องได้รับการแปลงให้เป็น Explicit Knowledge ก่อนจึงจะสามารถใช้ ICT ในจัดการได้
 - หลายคนมองว่ายุ่งยาก จึงมองข้ามการจัดการความรู้แบบ Tacit Knowledge
 - ผู้ที่แปลงความรู้แบบ Tacit Knowledge ให้เป็น Explicit Knowledge ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจทั้งในส่วนของเรื่องที่จะถ่ายทอดและเทคนิควิธีการถ่ายทอดที่ดี


เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา พันโกฏี. 2555. การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน. แหล่งที่มา: http://chapterzz6.blogspot.com/ 27 มีนาคม 2559

พรรณี สวนเพลง. 2552. เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิจารณ์ พานิช. 2548. การจัดการความรู้กับการบริหารราชการไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
สำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต. 2546. ร่างการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. แหล่งที่มา: http://www.nesdb.go.th/econSocial/naturalResource/ attachment/04_3.doc, 22มีนาคม 2559.
________.(2556). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้. แหล่งที่มา: http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=21, 22 มีนาคม 2559